การป้องกัน ของ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

องค์การอนามัยโลกยังไม่ระบุวิธีการป้องกันการติดเชื้อเดลตาโดยเฉพาะ การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วไปน่าจะยังใช้ได้ผลเหมือนเดิมวิธีการป้องกันโดยทั่วไปเหล่านี้ได้แก่ การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่แตะปาก จมูก หรือตาด้วยมือที่ยังไม่ล้าง และไม่เข้าไปในบริเวณอาคาร/บ้านที่อากาศไม่ถ่ายเทโดยเฉพาะเมื่อมีคนกำลังพูด[54]

ในอินเดีย งานศึกษาหนึ่งพบว่า เลือดของคนไข้ที่ติดโควิดมาก่อนและของผู้ที่ได้รับวัคซีนโคแว็กซินสามารถกำจัดฤทธิ์ของสายพันธุ์ B.1.617 แม้จะมีประสิทธิภาพลดลง[55]ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า เลือดของผู้ฉีดวัคซีน Covishield (แอสตร้าเซนเนก้า) สามารถป้องกันสายพันธุ์ B.1.617 ได้[56]

พีเอชอีพบว่า หลังจากฉีดโดสแรก ทั้งวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคแบบแสดงอาการร้อยละ 33 และ 2 สัปดาห์หลังจากฉีดโดสที่ 2 วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพร้อยละ 88 และวัคซีนของแอสตร้าร้อยละ 60[57][58]

ในอังกฤษ งานศึกษาที่ศูนย์วิจัยชีวเวชคือสถาบันฟรานซิสคริกและตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสองเข็มแล้วน่าจะมีระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สำหรับเชื้อสายพันธุ์เดลตา 5 เท่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[59][60]

ในเดือนมิถุนายน 2021 พีเอชอีประกาศผลงานศึกษาที่พบว่า หลังจากฉีด 2 โดส วัคซีนของไฟเซอร์และของแอสตร้ามีผลป้องกันการติดเชื้อซึ่งทำให้เข้า รพ. เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาถึงร้อยละ 96 และ 92 ตามลำดับ[61][62]

งานศึกษาเดือนกรกฎาคม 2021 ในศรีลังกาพบว่า วัคซีนของซิโนฟาร์มก่อ seroconversion ในบุคคลที่ได้วัคซีนทั้งสองโดสร้อยละ 95อัตราในคนอายุระหว่าง 20-39 ปีสูงกว่า คือ 98.9% ส่วนอัตราในคนอายุ 60 ปีขึ้นก็ต่ำกว่าเล็กน้อยคือ 93.3%แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์พบในคนที่ฉีดวัคซีน 81.25%[63][64]

ในปลายเดือนกรกฎาคม พีเอชอีตีพิมพ์งานศึกษาที่พบว่า วัคซีนของไฟเซอร์หลังโดสที่สองมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่แสดงอาการ 93.7% เทียบกับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ 67%[65]

ใกล้เคียง

ไวรัส ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ไวรัสอาร์เอสวี ไวรัสโคโรนา ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสคอมพิวเตอร์ ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ไวรัสซิกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา http://www.theguardian.com/us-news/2021/jul/22/us-... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/02/we-ar... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/04/healt... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11742399 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17634159 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26132768 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28166851 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28757186 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30560777 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32044814